ไม่ใช่
เรื่องดีแน่หากเฟซบุ๊กของคุณถูกสวมรอยโดยใครที่คุณไม่รู้จัก
เพราะมีโอกาสสูงที่ข้อความประหลาดพร้อมโปรแกรมร้ายจะถูกส่งไปโจมตีกลุ่ม
เพื่อนในนามของคุณเองโดยที่คุณควบคุมไม่ได้
หนำซ้ำยังสร้างความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลลับอื่น ๆ อีกไม่รู้จบ
ก่อนการล้อมคอกเพื่อกันวัวหาย
คุณควรรู้ว่าศัตรูที่เราต้องต่อสู้ด้วยคือซอฟต์แวร์สวมรอยที่เป็นเครื่องมือ
ของเหล่าผู้ไม่ประสงค์ดี
ที่ต้องการแอบอ้างเป็นผู้อื่นในเว็บไซต์สังคมออนไลน์ทั้ง Facebook หรือ
Twitter
ซึ่งซอฟต์แวร์เหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ผู้ร้ายเหล่านี้สามารถก่อการง่าย
ด้วยการคลิกเมาส์ไม่กี่ครั้ง
ที่ฮือฮาที่สุดคือซอฟต์แวร์ Firesheep ของ Eric Butler
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ชาวอเมริกัน
ที่ออกมาเผยแพร่ซอฟต์แวร์นี้แก่ผู้บริโภคทั่วไปในฐานะโปรแกรมเสริม (add-on)
ของ Firefox เว็บเบราว์เซอร์ยอดนิยม
ซอฟต์แวร์นี้จะทำหน้าที่ดักจับข้อมูลในระบบเครือข่ายก่อนจะกรองข้อมูลเพื่อ
เก็บข้อมูลของเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการสวมรอย
การป้องกันข้อแรกที่ทุกคนควรทำคือ การเพิ่มอักษร "s" หนึ่งตัวใน http ก่อนการเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม
คุณควรพิมพ์ https://www.facebook.com แทน http://www.facebook.com หรือใช้ https://twitter.com แทน http://twitter.com เพราะการเพิ่ม s เพียงตัวเดียวจะมีความหมายว่าคุณกำลังกำหนดให้เว็บเบราว์เซอร์เข้ารหัสการรับส่งข้อมูลด้วย SSL
ในทางเทคนิ
ก ซอฟต์แวร์สวมรอยจะใช้การดักจับข้อมูลคุกกี้
หรือข้อมูลจิ๋วที่เว็บไซต์ส่งมาเก็บไว้ในเว็บเบราว์เซอร์หลังจากที่เราล็อก
อินเข้าระบบ
โดยทำหน้าที่เป็นใบผ่านทางในการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์นั้นอีกภายหลัง
หากไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล "ผี" จะสามารถดักจับข้อมูลคุกกี้ของเรา
แล้วใช้คุกกี้เป็นใบผ่านทางเพื่อสวมรอยเข้าสู่ระบบเว็บไซต์
(วิธีนี้มีชื่อเรียกว่า session hijacking)
แม้ว่า
เว็บไซต์ชื่อดังมักจะมีการเข้ารหัสการล็อกอินเข้าใช้งาน
แต่การรับส่งข้อมูลส่วนที่เหลือและการติดตั้งคุกกี้โดยมากไม่ถูกเข้ารหัส
ช่องโหว่ให้การสวมรอยด้วยวิธีนี้จึงเกิดขึ้น
ซึ่งเมื่อสามารถสวมรอยเข้าสู่ระบบเว็บไซต์ได้แล้ว "ผี"
ก็สามารถโพสต์หรือลบข้อมูลต่าง ๆ
รวมถึงแก้ไขการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวได้ตามใจต้องการ
ทางที่ดี
ที่สุดคือ คุณควรเข้ารหัสการรับส่งข้อมูลด้วย SSL (สังเกต https
ก่อนที่อยู่เว็บไซต์) ด้วยวิธีนี้ "ผี"
จะไม่สามารถเปิดอ่านข้อมูลที่ดักจับมาได้
การป้องกันข้อที่ 2 คือ ลงชื่อออกหรือล็อกเอาท์จากระบบทุกครั้งหลังสิ้นสุดการใช้งาน
เพราะการ
ล็อกเอาท์จากระบบหลังสิ้นสุดการใช้งาน
จะทำให้ระบบลบข้อมูลการอยู่ในระบบของผู้ใช้ ทำให้ "ผี" ไม่สามารถใช้วิธี
session hijacking เข้าไปสวมรอยได้ ฉะนั้น ลด ละ เลิก
เสียทีกับนิสัยปิดหน้าเว็บไซต์แล้วใช้งานเว็บไซต์อื่นต่อโดยไม่ลงชื่อออก
การป้องกันข้อที่ 3 คือ การไม่ตั้งค่าให้เว็บไซต์จดจำข้อมูลชื่อบัญชีและรหัสผ่าน
หลายคนเห็น
ว่าสะดวกดีหากให้ระบบจำข้อมูลการล็อกอินไว้
เพราะไม่ต้องเสียเวลาพิมพ์เมื่อต้องการกลับมาใช้ใหม่
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือระบบจะไม่ลบข้อมูลออกแม้คุณจะปิดหน้าเว็บไซต์นั้นไป
แล้ว ทำให้มีช่องโหว่เพื่อการ session hijacking เกิดขึ้น
3 ข้อปฏิบัตินี้เป็นเรื่องง่ายที่ไม่ต้องเสียสตางค์เพิ่มเติม ถือเป็นวิธีลดความเสี่ยงที่ชาวเครือข่ายสังคมควรท่องให้ขึ้นใจ
ที่มา : thainetizen.org
http://th.jobsdb.com/TH/EN/Resources/JobSeekerArticle/facebookhack.htm?ID=2182
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น