เว็บอะรัยดีช้อป

เว็บอะรัยดีช้อป
http://www.webaraideeshopping.com/

วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อยากเห็น Facebook IPO ในไทย แต่ต้องปรับปรุงกฎหมาย

เป็นที่น่าเสียดาย ที่อุตสาหกรรม ICT ของไทย ยังไม่สามารถให้กำเนิด Social Media ที่มีการใช้งานระดับโลก หรือแม้กระทั่งระดับประเทศ

                                          ภาพจาก http://www.bangkokbiznews.com

อย่าง เช่น Facebook ที่กำลังอยู่ในช่วง IPO และอาจสร้างมูลค่าได้ถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ โดยจะทำให้ Facebook มีสถานภาพทางการเงิน ที่สามารถแข่งขันได้อย่างทัดเทียมกับ Apple และ Google ที่ครองแชมป์ Market Cap แห่งวงการ Social Media และ​โลกนวัตกรรม

สำหรับประเทศไทย กลยุทธ์ Social Media ที่กำลังเป็นกระแสนิยมของหลายๆ องค์กร มิอาจที่จะหนีพ้น Facebook ซึ่งเป็นเป้าหมายหลัก และตามด้วย Twitter หรือ Youtube เพราะ Facebook มีการเข้าถึงคนไทย 14 ล้านคน หรือกว่า 80% ของประชากรไทยบนโลกอินเทอร์เน็ต และเป็นการยากที่ Social Media อื่นๆ จากทั้งในและนอกประเทศ จะก้าวข้าม Facebook ในเร็ววันนี้

ความ สำเร็จของ Facebook กลับมิได้ปราศจากอุปสรรค ประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และกระทั่ง เวียดนาม ล้วนมี Social Media ของตัวเอง ที่ประสบความสำเร็จ และมีผู้ใช้งานสูงกว่า Facebook

จนกระทั่งกำเนิดเป็นอุตสาหกรรม Social Media ของตัวเอง ที่มีการลงทุนอย่างเป็นระบบ และมี IPO ทั้งในประเทศ และในตลาดหุ้นใหญ่ของสหรัฐ
ใน การส่งเสริมอุตสาหกรรม Social Media ของไทย กฎหมายที่ไม่ได้พัฒนา กลับเป็นอุปสรรคที่สำคัญ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์) มาตรา 15 กำหนดโทษให้กับผู้ให้บริการ ที่จงใจสนับสนุน ให้มีการกระทำผิดในระบบคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในความควบคุมของตน ซึ่งหมายความว่าผู้ให้บริการ Social Media เช่น Facebook มีความเสี่ยงทางกฎหมาย และอาจต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม จากทุกข้อมูลที่มีการนำเสนอ โดยผู้ใช้ Facebook 14 ล้านคนในประเทศไทย ทั้งนี้ ผู้ให้บริการ Facebook อาจต้องร่วมรับผิดกับผู้ใช้งาน Facebook ที่กระทำผิดกฎหมายทุกคน

จากการสอบถามเจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีส่วนร่วมในการร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีความเห็นว่าเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ ในฐานะตัวกลาง ที่จะต้องตรวจสอบทุกข้อมูล ที่มีการนำเสนอผ่านระบบของตน ซึ่งหากไม่สามารถรับผิดชอบได้ ก็มิสมควรเปิดให้บริการตั้งแต่แรก

แต่ ถึงกระนั้น ทุกๆ 1 นาที ผู้ใช้งาน Facebook จะมีการนำเสนอข้อมูลใหม่กว่า 1 ล้านครั้ง ซึ่งหมายความว่า ในทุก 1 วัน จะมีข้อมูลใหม่กว่า 1,000 ล้านข้อมูลที่ต้องตรวจสอบ โดยผู้ให้บริการ Facebook​ ซึ่งต้องใช้ทรัพยากรณ์มนุษย์อย่างมหาศาล จนมิอาจคุ้มค่าต่อการลงทุนในธุรกิจ แม้กระทั่งสำหรับยักษ์ใหญ่เช่น Facebook ที่กำลังจะมี Market Cap 1 แสนล้านดอลลาร์

แต่ยังเคราะห์ดี ที่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งมุ่งเน้นการเอาผิดกับตัวกลาง มีผลบังคับใช้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ก็ยังเป็นข้อกังขาว่า เมื่อผู้บริหารและกรรมการบริษัทของ Facebook ซึ่งอาจรวมถึง Mark Zuckerberg ต้องเดินทางเข้าประเทศไทย จะถูกดำเนินคดีโดยมิได้รู้ตัวหรือไม่

การเอาผิดกับตัวกลาง เป็นแนวทางเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น จึงยังอาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติหากไม่ชัดเจน สำหรับแนวทางสากล ซึ่งรวมถึงประเทศที่อื้อฉาวเรื่องการปิดกั้นสื่อ เช่นประเทศจีน กลับเป็นวิธี Notice and Takedown ซึ่งตัวกลางจะปราศจากความผิด หากลบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ทันทีที่ถูกแจ้งเตือน

แม้ Facebook จะมีข้อได้เปรียบทางกฎหมาย เพราะให้บริการจากต่างประเทศ แต่ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 15 กลับเป็น
อุปสรรคที่สำคัญ สำหรับผู้ให้บริการ Social Media ของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็น SME เพราะไม่สามารถมีทรัพยากรมนุษย์ที่จะตรวจสอบทุกข้อมูลที่มีการนำเสนอผ่าน ระบบของตน ได้อย่างทันท่วงที และตลอดเวลา จึงมีภาระความเสี่ยง ที่จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นับแต่วันแรกที่เริ่มให้บริการ Social Media

การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ให้สอดคล้องกับ นวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ กลับเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างไม่ต้องลงทุนทรัพยากร เพียงแต่เป็นการระดมความคิด ที่ถูกต้อง และเกิดผลดีได้

หลายปีมาแล้ว ที่ได้เห็น IPO ของธุรกิจ Social Media ในระดับโลก และของประเทศเพื่อนบ้าน แต่เมื่อไหร่ จะถึงเวลาของประเทศไทย



ที่มา http://www.bangkokbiznews.com 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับ