มารู้จัก.DLL, .OCX, ActiveX มันคืออะไรครับ, ต่างกันอย่างไร, แล้วเอาไว้ทำไรกันบ้าง
แรกเริ่มของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์จะเขียนโปรแกรมหรือทำชุดคำสั่งและข้อมูลที่จำเป็นสำหรับงานั้นๆ ขึ้นมา เก็บไว้เป็น file เมื่อต้องการใช้งาน ก็ให้ OS อ่านข้อมูลจาก file ไปไว้ลงใน memory ของเครื่อง ก็จะเริ่มทำงานได้ตามต้องการ หรือตามที่ได้โปรแกรมไว้
ต่อมา มีการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมามากขึ้น โปรแกรมเมอร์แต่ละคน ก็ทำโปรแกรมของตนออกมา ผู้ใช้ก็เก็บไว้ในหน่วยความจำสำรอง หรือ HDD จะใช้อะไรก็ load โปรแกรมนั้นๆ ขึ้นมา จนมี file เต็ม HDD ไปหมด
พอไปดู file จริงๆ ปรากฏว่า มีงานซ้ำซ้อนกันเก็บไว้หลายๆ ที่ เช่น ชุดโปรแกรมย่อยในการคำนวนต่างๆ ข้อมูลที่เป็นภาพ เสียง ฯ เพราะทุกบริษัทต่างๆ ก็มีของพวกนี้เป็นของตัวเอง เวลากระจายโปรแกรมออกสู่ตลาด ก็ต้องเอาของพวกนี้ติดไปพร้อมกับระบบด้วย ไม่เช่นนั้น โปรแกรมก็ทำงานไม่ได้ จึงมีการคิดเรื่องการสร้างชุดคำสั่งมาตราฐาน (Common library routines) ขึ้น เก็บไว้ในเครื่องที่เดียว ทุกคนก็มาเรียกใช้เพื่อลดการใช้ HDD เรียกว่า เป้นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Sharable resources)
ต่อมา library พวกนี้ก็มีมากขึ้น มีนักพัฒนา library มาขายให้นักพัฒนาโปรแกรมอีกที จะ load ไปว้ในหน่วยความจำทั้งหมดทีเดียว ก็ทำไม่ได้ เพราะหน่วยความจำมีจำกัด เลยมีการออกแบบ dynamic linking library (DLL) ขึ้นมา คือ จะใช้ค่อย load พอเลิกใช้แล้วก็เอาออกจากหน่วยความจำไป แต่ตอนทำงานจริงๆ เรา load DLL ทั้งหมดที่ใช้ขึ้นมา ที่เหลือเป็นหน้าที่ของ OS ว่าจะเอาตัวใหนมาใส่ในหน่วยความจำ (dynamic loading/unloading)
ผู้ที่จะใช้งาน DLL ได้ก็คือโปรแกรมเมอร์ ผู้สร้างโปรแกรมใช้งาน ถ้าโปรแกรมของเราต้องใช้ DLL สัก 20 files เราต้องมีให้ครบ ไม่เช่นนั้น โปรแกรมจจะทำงานไม่ได้ ใน sub dir \windows\system32 มี DLL มาตราฐานของ Microsoft Windows ให้ใช้เป็นร้อย ทำให้โปรแกรมที่ทำงานบน Windows มีขนาดเล็ก แต่ทำงานได้มาก เพราะจริงๆ ไปเรียกใช้ DLL เสียเป็นส่วนมาก
ต่อมา มีคนคิดว่า งานบางอย่าง เช่น ปุ่มกด ช่องกรอกข้อมูล ฯ งานพวกนี้ก็มีอยู่ในโปรแกรมใช้งานเกือบทุกโปรแกรม แต่ละบริษัทก็ออกแบบสร้างของตัวเองขึ้นมา ถ้าสามารถทำเป็นมาตราฐาน แยกเป็น applicaion ย่อยๆ ที่สามารถเรียกใช้ได้จากโปรแกรมหลักได้ การสร้างโปรแกรมใช้งานก็จะง่ายขึ้น คือ เรียกใช้ ไม่ต้องไปเขียนใหม่ เกิดเป็น user control component (VBX) ในการพัฒนาโปรแกรมบนรูปแบบ visual design
User control แตกต่างจาก DLL ตรงที่มันเป็นโปรแกรมใช้งานโปรแกรมหนึ่งทีเดียว ไม่ใช่แค่ library ให้ load เอามาใช้งานเหมือน DLL เวลาเรียกใช้งาน มันจะจองเนื้อที่บนหน้าจอเพื่อแสดงผล รับข้อมูลจากผู้ใช้ และสื่อสารกับโปรแกรมหลัก เหมือนจะแยกตัวออกเป็นอิสระ แต่ VBX ใช้งานได้กับโปรแกรม Visual Basic เท่านั้น
ActiveX ก็คือ applet หรือโปรแกรมเล็กๆ ทำงานอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เป็นผู้ให้บริการโปรแกรมอื่นๆ ในระบบ เป็นแนวความคิดที่ขยายผลมาจาก DLL และ User control ให้ทุกๆ โปรแกรมที่พัฒนาจากทุกภาษาสามารถเรียกใช้ได้ หรือ พยายามสร้างให้เป็นมาตราฐานขึ้นมาเหมือน DLL เป็นทั้ง library และ User control พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยี OLE และ DDE อีกที
File ActiveX มีนามสกุลเป็น DLL และ OCX ที่จริงก็คือตัวเดียวกัน เปลี่ยนนามสกุลเฉยๆ ทำงานบนมาตราฐานของ DLL เดิม แต่มีการเพิ่มมาตราฐานการสื่อสารระหว่างโปรแปรแกรมหลักับตัว ActiveX
ยกตัวอย่าง ActiveX ตัวหนึ่ง เป็นโปรแกรมแปลภาษาไทยเป็นอังกฤษ เราจะต้องลงทะเบียน ActiveX ตัวนี้ในระบบก่อน แล้วเราสามารถเรียก ActiveX ตัวนี้มาเป็นตัวช่วยในโปรแกรมเราได้ ต้องทำการถาม ActiveX ว่า มีอะไรให้เรียกใช้ได้บ้าง (Query Interface) แล้วก็ทำการสื่อสารกับมันผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างโปรแกรม (DDE) โปรแกรมหลักก็จะโยนข้อมูลไปที่ OCX แล้วมันจะตอบกลับมา ผลก็คือ เราได้ภาษาอังกฤษจากภาษาไทยที่เราส่งไปตามความต้องการ โดยเราไม่ต้องไปเขียนโปรแกรมแปลภาษาเอง
ส่วน ActiveXที่เป็น user control ทำงานเหมือน VBX ทุกประการ
เหมือนกับว่า เราไม่ได้ทำงานคนเดียว มีผู้ช่วยระดับผู้เชี่ยวชาญเป็นร้อยอยู่รอบๆ เราสามารถสอบถาม OS ได้ว่า ตอนนี้มี ActiveX อะไรอยู่ในเครื่องเราบ้าง แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว การใช้งานโปรแกรมหลักกับ ActiveX component ก็ต้องมีคู่มือเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าจะไปเรียกใช้อะไรได้ง่ายๆ
ตัว ActiveX นี่เราสามารถติดตั้งตัวมันไว้ที่เครื่องใหนใน network เดียวกันก็ยังได้ เพราะจริงๆ แล้ว มันแยกกันทำงานเด็ดขาดจากโปรแกรมหลัก เอาไปไว้บนดาวเที่ยมก็ยังได้ ใช้การสื่อสารบนเครือข่ายแทนที่จะให้มันคุยในเครื่องเดียวกัน โดยโปรแกรมเราไม่ต้องไปทำอะไรเลย ไปกำหนดที่อยู่ของตัว ActiveX เอาใน configuration ของ OS เป็นการป้องกันความลับของ code หรือ algorithm ได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ต้องส่ง file ไปหร้อมกับ product
ที่มา..http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=4180ae23a91d0e6e
บทความเกี่ยวกับการสร้างเว็บไซต์ต่างๆ บทความต่างๆ ทิปเกี่ยวเทคนิคการปรับแต่งคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความที่ได้รับความนิยม 10 อันดับ
-
ภาพประกอบเท่านั้น คุณอาจลองใช้วิธีการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องคอมของคุณ จากลิงค์ข้างล่างนี้ครับ http://windows.microsoft....
-
JS WANSIKA คือฟอนต์ไทยที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เนื่องจากมีรูปร่างหน้าตาที่ดูแปลกและสวยงาม จึงได้รับความนิยมในการใช้เ...
-
มาดูวีธีการแก้ไขปัญหา windows7 หน้าจอค้างที่ starting windows ภาพประกอบเท่านั้น www.beartai.com ขั้นตอนที่ 1เปิดเครื่องคอมพิวเตอ...
-
ก่อนหน้านี้ผมได้นำบทความวิธีการติดกล้องวงจรปิดเว็บแคม ด้วยโปรแกรม H264WebCam Pro 2.32 มาแล้ว ที่นี้เป็นการติดตั้งกล้องให้ได้มากกว่า 2 ตัวขึ...
-
เวลาที่เปิดเข้าโฟล์เด้อแล้ว จะเข้าไม่ได้ และจะขึ้นคำว่า Windows Explorer Has Stopped Working หลังจากนั้นเครื่องจะเริ่มทำงานใหม่ มาดูวีดีโอก...
-
หากคุณไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้งาน Windows Live Messenger ได้ เเละได้รับรหัสข้อผิดพลาด 800488 eb วิธีเเก้ไขปัญหา 1 มีดังนี้ 1. ให้คุณค...
-
FormatFactory 2.70 full แปลงไฟล์ครอบจักวาล เมนูไทย ใช้งานง่าย แปลไฟล์ด้วยทุกไฟล์ที่คุณอยากทำ Format Factory is a multifunctional media...
-
พอดีผมเปิดเว็บไซต์แล้วมาเจอคำถามเกี่ยวกับการใช้งาน Internet ซึ่งทุกครั้งที่เข้าใช้งานทุกคนมักจะพอปัญหาต่างๆกันไป แต่วันนี้จะมาบอกวิธีแก้ In...
-
สาธิตวิธีทำกล้องวงจรปิดจากกล้องเวปแคมนะครับ (ความรู้ที่ได้นำเสนอผมได้ศึกษาจากหลายๆท่านต้องขอบคุณไว้ณ ที่นี้ด้วย) 1.หาก ล้องเวปแคมดีๆซักตัว...
-
ปัจจุบันโปรแกรมท่องเน็ต Mozilla Firefox กำลังมาแรงแซงทางโค้ง ด้วยความสามารถมากมาย และง่ายในการใช้งาน โดยบทความสำหรับวันนี้ผมจะขอแนะการการใช้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น