นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มชิพประมวลผลภาพ ในตระกูล Intel HD Graphics 4000 ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า รุ่น HD 3000 ที่อยู่ในซีพียูตระกูล แซนดี้บริดจ์ หมายความว่าภาพกราฟฟิกที่ได้จากการใช้ชิพกราฟฟิกที่ผนวกอ
อินเทล ยังมีแผนที่จะผลิตซีพียูตระกูลไอวี่ บริดจ์ สำหรับโน้ตบุ๊กอีกด้วย เพื่อเติมเต็มความต้องการในตลาดคอมพิวเตอร์พกพาประสิทธิภาพสูง นั่นหมายความว่าผู้ซื้อโน๊ตบุ๊กในปีหน้า จะได้ความ "คุ้มค่า" ต่อเงินที่เสียไปอีกระดับ
อย่างไรก็ตามในปีหน้าอาจจะมีข่าวร้ายสำหรับสาวก "เน็ตบุ๊ก" ที่นับได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีประสิทธิภาพต่ำที่สุดในกลุ่มคอมพิวเตอร์พกพา เนื่องจากมีสัญญาณว่าผู้ผลิตคอมพิวเตอร์หลายรายจะ "ยกเลิก" สายการผลิตเน็ตบุ๊ก ที่เป็นคอมพิวเตอร์ราคาถูก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา หรือนักธุรกิจที่ต้องเดินทางไปไหมาไหนอยู่บ่อยๆ แต่มีการใช้งานจำกัดเฉพาะการท่องอินเตอร์เน็ต ส่งอีเมล หรือใช้งานโปรแกรมประมวลผลเอกสารเป็นหลัก เนื่องจากข้อจำกัดของประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์ในตัว ซึ่งข้อจำกัดในส่วนฮาร์ดแวร์ และคอนเซ็ปต์ของเน็ตบุ๊ก ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยจำกัดทางการตลาดของบริษัทผู้ผลิตที่ไม่สามารถผลิตสินค้าราคาสูงที่มีส่วนต่างกำไร (มาร์จิ้น) ออกสู่ตลาดเน็ตบุ๊กได้
เนื่องจากคอนเซ็ปต์เน็ตบุ๊กที่อินเทล เป็นผู้คิดค้นขึ้นมานั้นต้องการเจาะกลุ่มตลาดนักเรียน นักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้ของตนเอง แต่ต้องการคอมพิวเตอร์สำหรับการเรียนเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นการที่ "แท็บเล็ต" หรือคอมพิวเตอร์พกพาไร้คีย์บอร์ด แบบกดตามปกตินั้น ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเดียวกับเน็ตบุ๊ก ยิ่งทำให้ปัจจัยทางการตลาดของเน็ตบุ๊คยิ่งมีเงื่อนไขในเชิงลบมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจยกเลิกการผลิตเน็ตบุ๊กของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์บางค่ายจึงมาเร็วกว่าที่คาดไว้
เมื่อเร็วๆ นี้บริษัท เดลล์ คอมพิวเตอร์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่าจะปิดสายการผลิตเน็ตบุ๊ก และในปีหน้าเราจะเห็นการประกาศในลักษณะเดียวกันของผู้ผลิตรายอื่นๆ และหันมาเจาะกลุ่มตลาดแท็บเล็ตมากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน
ยิ่งไปกว่านั้นในปีหน้าเราอาจจะได้เห็นอัลตร้าบุ๊ก ที่ใช้ซีพียูประสิทธิภาพสูงของอินเทล ร่วมกับฮาร์ดดิสก์แบบเอสเอสดี ที่ปัจจุบันยังมีราคาสูงเมื่อเทียบกับขนาดความจุที่ผู้ผลิตให้มา (ในช่วงปลายปี 2554 ราคาฮาร์ดดิสก์แบบเอสเอสดี ความจุ 64 กิกะไบต์ยังมีราคาเฉลี่ย 3,xxx บาท ซึ่งราคาระดับนี้สามารถซื้อฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนขนาดความจุ 500 กิกะไบต์ขึ้นไปได้สบายๆ) เนื่องจากเกิดปัญหาการผลิตฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุนในโรงงานของผู้ผลิตรายใหญ่ ทั้ง เวสเทิร์น ดิจิตอล และซีเกต เทคโนโลยี ในประเทศไทย ทั้งจากการที่โรงงานประกอบฮาร์ดดิสก์ ถูกน้ำท่วมจนต้องปิดโรงงานชั่วคราว และการที่ผู้ผลิตชิ้นส่วน ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ หรือไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนให้โรงงานได้ เป็นเหตุให้เกิดการขาดแคลนฮาร์ดดิสก์ในตลาดโลก ทำให้มีราคาสูงขึ้น และหายากจนผู้ผลิตคอมพิวเตอร์รายใหญ่ถึงกับพิจารณาเปลี่ยนแนวทางการผลิตอัลตร้าบุ๊ก โดยใช้ฮาร์ดดิสก์แบบเอสเอสดีที่หาได้ง่ายกว่า และสามารถตั้งราคาจำหน่ายได้สูงจนมีมาร์จิ้นคุ้มต่อการลงทุน
ทั้งยังเป็นสัญญาณว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุน อาจจะถึงระยะสุดท้ายของอายุในตลาดแล้วอีกด้วย เพราะเทคโนโลยีพื้นฐานของการผลิตฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุนนั้นเกิดขึ้นมานานหลายทศวรรษแล้ว และผู้ผลิตเริ่มเผชิญกับทางตันในการพัฒนาต่อยอดให้ประสิทธิภาพ ความจุ กับราคาจำหน่ายเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจที่สมเหตุสมผลอีกต่อไป
แม้จะมีข่าวว่าซีเกตได้ทุ่มเงิน 1,400 ล้านดอลลาร์เข้าซื้อธุรกิจการผลิตฮาร์ดดิสก์ของซัมซุง และเวสเทิร์น ดิจิตอล ได้เข้าซื้อกิจการผลิตฮาร์ดดิสก์ของฮิตาชิ แต่การดำเนินการของยักษ์ใหญ่ทั้งสองค่ายเป็นไปเพื่อการต่อยอดการผลิตฮาร์ดดิสก์แห่งอนาคตมากกว่า การพัฒนาฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุน
เชื่อได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้จะเห็นฮาร์ดดิสก์ลูกผสมระหว่างฮาร์ดดิสก์แบบเอสเอสดี กับ ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุน ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหมุนแบบเดิม ทั้งในเรื่องของความเร็วในการอ่าน-เขียนข้อมูล และอายุการใช้งาน ออกมาขัดตาทัพในตลาดมากขึ้น ขณะเดียวกันก็จะเห็นฮาร์ดดิสก์แบบเอสเอสดี ที่ใช้ชิพหน่วยความจำ Nand ที่มีราคาต่ำลงในตลาดมากขึ้น เพราะผู้ผลิตต้องการเปลี่ยนไปผลิตสินค้าที่มี "อนาคต" มากขึ้นนั่นเอง
สำหรับตลาดสินค้าประเภทโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต จะมีสินค้าที่ "ทับซ้อน" ระหว่างกลุ่มมากขึ้น ทั้งแท็บเล็ตที่มีขนาดหน้าจอเล็กลง (เมื่อเทียบกับเจ้าตลาดอย่างไอแพด) ขณะเดียวกันโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจะมีขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้น และมีประสิทธิภาพในลักษณะเดียวกันกับแท็บเล็ตมากขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ซัมซุง มินิแท็บเล็ต ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วที่เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ปลายปี 2554 และข่าวการผลิต มินิ ไอแพด ขนาดหน้าจอ 7 นิ้วที่เริ่มกระจายออกสุ่หูสาวกผลิตภัณฑ์ตระกูลไอ ของแอปเปิล ควบคู่ไปกับข่าวกำหนดการเปิดตัวไอแพด 3 ที่มีการคาดการณ์ว่าจะเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2555
นอกจากนั้นในปีหน้านี้ตลาดไอทีเมืองไทยจะได้ต้อนรับโน้ตบุ๊ก-สมาร์ทโฟน ที่มีประสิทธิภาพการแสดงผลสามมิติ ควบคู่ไปกับการเชื่อมต่อในระบบ 3 จี ที่โอเปอเรเตอร์ทุกค่ายพยายามผลักดันให้เป็นมาตรฐานใหม่ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สาย ขณะที่ในต่างประเทศ (รวมทั้งลาว) กำลังพิจารณาการจัดทำระบบโทรศัพท์ 4 จี ที่มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูล "เหนือ" กว่า 3 จีอย่างมาก
อย่างไรก็ดีการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าไอทีทุกชนิดควรคำนึงถึงประโยชน์จากการใช้งานเทียบกับมูลค่าเงินที่จะต้องจ่ายไป และควรพิจารณาเรื่องช่วงอายุของสินค้าในตลาดเพื่อจะได้ไม่เจ็บตัวเมื่อต้องการจะขายต่อออกไป ...ขอให้ปี 2555 เป็นปีแห่งความสุขของทุกท่านที่จะได้ใช้งานสินค้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เป็นประโยชน์กับตนเองมากที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น